สำรวจตรวจสอบไฟในบ้าน

0
2496

ปัญหาจากอุบัติเหตุไฟไหม้ ไฟซ๊อต ไฟดูด ภายในบ้านของเราเอง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลความเสียหายรุนแรง หรือความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่ทุกอย่างไม่อาจประมาทได้ ดังนั้น เราควรต้องสำรวจตรวจสอบไฟฟ้าในบ้านของเราเอง

การสำรวจตรวจสอบ ไฟฟ้าในบ้านของเรา ต้องแยกเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนแรก เราผู้เป็นเจ้าบ้าน หรือผู้เช่าอาศัย และขั้นที่สองคือการตรวจสอบโดยช่างไฟ หรือช่างชำนาญเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท แต่มีข้อยกเว้นว่า ถ้าเราพบเห็นความผิดปกติ หรือน่าสงสัยที่อาจเป็นอันตรายต้องรีบแจ้งช่างไฟทันที อย่าชักช้า อาจเป็นอันตรายมากกว่าที่คิด

การสำรวจตรวจสอบ เริ่มจาก เตรียมสมุดปากกาเพื่อบันทึก  สำรวจสายไฟ ปลั๊กไฟ มีห้องไหนอย่างไร มีการใช้สายไฟพ่วงต่อประจำกี่จุด สายไฟที่พ่วงนั้นเป็นแบบกล่องม้วน หรือแบบรางพ่วง ปลั๊กพ่วงนั้นมีคุณภาพอย่างไร เหมาะสมกับการใช้กับกำลังไฟขนาดเท่าใด มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อพ่วงประจำกี่เครื่อง ตรงนี้มีความสำคัญมาก เพราะหากมีการต่อพวงมากเกินไป กำลังไฟที่ใช้ต่อจุด อาจมากเกินกว่าที่สายไฟจุดนั้นจะรองรับได้ เมื่อมีการใช้งาน สายไฟอาจร้อนมาก นอกจากนี้ควรดูด้วยว่า สายไฟเหล่านั้น  มีการวางทับซ้อนหรือไม่  และทั้งดูว่า สายไฟตรงไหน เก่าหรือสกปรก หรือมีอะไรมาพาดเกี่ยวไว้หรือไม่  สภาพเป็นอย่างไร หากสงสัยว่า การใช้ไฟจุดใดอาจเป็นอันตราย ควรเรียกช่างไฟมาช่วยตรวจสอบ เจ้าของบ้านไม่ควรทำเอง หากไม่เคยทำ หรือไม่มีความรู้ อาจเป็นอันตรายได้ 

ส่วนระบบไฟให้แสงสว่าง ดูหลอดไฟ จุดไหน ที่เป็นหลอดไฟแบบเก่า ควรเปลี่ยนให้เป็นหลอดประหยัดไฟ และดูแต่ละจุดใช้งานมานานเท่าใด พบความผิดปกติอย่างไร  กรณีไฟสว่างเพื่อการตกแต่งอาคารสถานที่ ควรหมั่นตรวจสอบ เช่นบริเวณไฟในสวน ไฟรั้ว ที่อาจมีต้นไม้กิ่งไม้ เติบโตมาพันเกี่ยว

การสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ละประเภท เรื่องนี้สำคัญมาก เช่น การตรวจตู้เย็น ซึ่งปกติ เราต้องวางให้ห่างจากผนัง อย่างน้อย 15 ซม. แต่บางทีเราอาจเผลอ มีการเคลื่อนไปจากจุดเดิม ทำให้ชิดผนังโดยไม่ตั้งใจ การสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละจุด มีการตั้งรวมกัน ชิดกันมากไปหรือเปล่า เปิดใช้บ่อยไหม มีช่องทางระบายลมหรือไม่ เพราะบางทีอาจมีการวางข้าวของมาเกะกะ ทำให้รก การระบายความร้อนของเครื่องไฟฟ้ามีปัญหา

เครื่องไฟฟ้า ที่มีสายดิน เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นควรเดินตรวจสายดินด้วย กรณีที่การสร้างบ้านไม่ได้วางระบบสายดินไว้ ส่วนเครื่องปรับอากาศ เป็นเครื่องไฟฟ้าที่ต้องตรวจทุกปี โดยช่างแอร์ที่ชำนาญและควรเป็นช่างที่มีร้านประจำ มีตำแหน่งร้าน มีชื่อพนักงานระบุในเอกสาร ข้าวของบ้านอย่าซ่อม,อย่าแก้ไขแอร์ด้วยตนเอง หากท่านไม่ได้เป็นช่าง เพราะอาจมีอันตรายเกิดขึ้น

 

เมื่อสำรวจแล้ว รวบรวมปัญหา จุดที่อยากให้แก้ไข ก็เรียกช่างไฟที่เหมาะสมกับเครื่องไฟฟ้านั้นๆ การสำรวจเป็นประจำช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้เราประหยัดพลังงานด้วย ส่วนโรงแรม, รีสอร์ท, บ้านเช่า หอพัก  เป็นหน้าที่ของเจ้าของต้องหมั่นตรวจสอบเป็นประจำ แต่หากผู้เข้าพักหรือผู้เช่า พบเห็นความผิดปกติ ต้องแจ้งเจ้าของหอพัก หรือผู้ให้เช่า ทันที อย่าแก้ไขด้วยตนเอง

 

©สุภฎารัตน์