ในเมนูอาหารพื้นเมือง บ่ะแ้คว้งขม จะเป็นของคู่กับ “เตา” หรือสาหร่ายน้ำจืดเป็นเมนู”ยำเตา” และเป็น ผักกินลาบได้ด้วย
ผลมะแว้งมีรสขมรสขื่น อยู่ด้วยกัน .แต่เมื่อกินไปสักครู่จะมีรสหวานตามมา
เหมาะเป็นอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ว่ากันอย่างนั้น
“บ่ะแคว้งขม หรือมะแว้ง” เป็นสมุนไพรสาธารณสุขมุลฐาน มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เม็ดยาอมแก้ไอมะแว้ง
“มะแว้ง” มี 2 ชนิดคือ
มะแว้งต้น
และมะแว้งเครือ (คำเมืองเรียก “บ่ะแคว้งเคีย” คำว่า ” เคีย” เป็นคำเมืองดั้งเดิม หมายถึง “เครือ” ปัจจุบันคนไม่ค่อยพูด โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
คำเมือง จะใช้ “เ-ีย” ไม่ใช่ “เ-ือ” แต่คนรุ่นใหม่จะมองว่า เชย -บ้านนอก
ต้นนี้เป็นมะแว้งต้น ปลูกง่าย แต่จะต้นใหญ่นิดหนึ่ง และมักมีโรคหรือแมลงมารบกวนทำให้ใบงอๆหงิกๆ ต้องตัดทิ้ง ตัดแต่งใหม่
มะแว้งต้น มี แยกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่เ่ป็นผลเกลี้ยงๆ แบบนี้ ผลสุก จะมีสีส้มสีแดง
ต้นจะไม่มีหนาม
และผลลายๆแบบนี้ คำเมืองเรียก “บะแคว้งลาย”
เป็นมะแว้งต้นอีกชนิดหนึ่ง จะเห็นว่า ลำต้นมีหนาม ลักษณะหนามเป็นหนามแหลมตรง
เวลาเก็บต้องระวัง
สำหรับภาพนี้เป็น “มะแว้งเครือ” หรือ ” บ่ะแคว้งเคีย”
จะมีหนามด้วย ลักษณะหนามเป็นหนามแหลมงองุ้ม ลักษณะต้นจะเป็นดังชื่อ คือเป็นเถา เป็นเครือ ถ้าปล่อยไว้ไม่ตัดแต่งก็จะพันเกี่ยวรกครึ้มทีเดียว
ปลูกในกระถาง ทำเสาหรือค้างเล็กๆ ก็จะได้ต้นมะแว้งเครือไว้เป็นยาสมุนไพรในบ้าน
สีแดงสดสวยมาก
©สุภฎารัตน์